วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แผนการจัดการเรียนรู้



แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                                            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1
สาระที่  1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต                                             เวลา  3 ชั่วโมง
เรื่อง  ลักษณะและรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิต                               นางณปภัช  สายคำพันธ์  ครูผู้สอน
                                               
สาระพื้นฐาน    สาระที่  1 :  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐานการเรียนรู้  :    มาตรฐาน  1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต   ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ  ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
       ว 1.1  ม.1/1  สังเกตและอธิบายรูปร่าง ลักษณะของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
                        หลายเซลล์
       ว 8.1   ม.1-3/1, ม.1-3/2, ม.1-3/3, ม.1-3/4, ม.1-3/5, ม.1-3/6, ม.1-3/9
จุดประสงค์การเรียนรู้
ธิบายรูปร่างและลักษณะของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ได้
สมรรถนะของผู้เรียน
          1. ความสามารถในการคิด
          2. ความสามารถในการแก้ปัญหา
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
          1. มีวินัย
          2. ใฝ่เรียนรู้
          3. มุ่งมั่นในการทำงาน
บูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หลักความพอประมาณ
          นักเรียนรู้จักรูปร่าง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์และพอประมาณกับข้อมูล
ที่มีอยู่
หลักความมีเหตุผล
          นักเรียนมีเหตุผลในการศึกษารูปร่าง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ในปริมาณที่เหมาะสม
หลักการมีภูมิคุ้มกัน
          นักเรียนมีการวางแผนก่อนที่จะศึกษารูปร่าง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
เพื่อมิให้เสียเวลามาก

เงื่อนไขความรู้
นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
เงื่อนไขคุณธรรม
          นักเรียนมีวินัย ใฝ่เรียนรู้  และมุ่งมั่นในการทำงาน
สิ่งที่เกิดกับผู้เรียนด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ด้าน
วัด
พอเพียงสมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ
วัตถุ
สังคม
สิ่งแวดล้อม
วัฒนธรรม
ความรู้ (Knowledge)
- มีความรู้เกี่ยวกับลักษณะและรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิต
- รู้จักหาความรู้เรื่องการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

- มีความรู้ที่มาของลักษณะและรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิต
- มีความรู้ในความซื่อสัตย์ของผู้เรียน
เรื่องลักษณะและรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิต
ทักษะ (Process)
- วางแผนในการศึกษาลักษณะและรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิต
- เรียนรู้กระบวนการศึกษาลักษณะและรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิต
- มีทักษะในการสืบค้นข้อมูลลักษณะและรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิต
- ปฏิบัติตนเป็นผู้บริโภคที่รอบคอบในการสืบค้นข้อมูลลักษณะและรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิต
ค่านิยม (Attitude)
- ตระหนักและเห็นคุณค่าของลักษณะและรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิต
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
- เห็นคุณค่าของลักษณะและรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิต
- เกิดความภูมิใจ
ในผลผลิตจากภูมิปัญญาในท้องถิ่น


เนื้อหาสาระ
     เซลล์   ( cell )   หมายถึง   หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตซึ่งมีรูปร่างหลายแบบเพื่อให้เหมาะสม
กับการทำหน้าที่ที่แตกต่างกัน
          ผู้ค้นพบเซลล์  คือ  รอเบิร์ต  ฮุก  นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ  โดยนำเลนส์มาส่องดูสิ่งต่าง ๆ ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือเปลือกไม้คอร์ก เห็นเป็นช่องสี่เหลี่ยมเรียงติดต่อกัน จึงเรียกช่องเหล่านี้ว่า  เซลล์
ต่อมาซไลเดนและชวันน์ได้ศึกษาสิ่งมีชีวิตมากมายโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ และได้ร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์ซึ่งมีใจความว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยเซลล์ และผลิตภัณฑ์ของเซลล์
          เซลล์ของสิ่งมีชีวิตจะมีรูปร่าง ลักษณะที่แตกต่างกันไปตามหน้าที่และตำแหน่งของเซลล์ เพื่อให้เหมาะสมต่อการทำงานและดำรงชีวิต



          เซลล์ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก  และไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดู แต่ก็มีเซลล์บางชนิดที่มีขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น เซลล์ไข่ (ของไก่ นก เป็ด เต่า งู)
          สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ทั้งคน  พืช และสัตว์นั้น ร่างกายจะประกอบไปด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก เราจึงเรียกสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ว่า สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
          แต่สิ่งมีชีวิตบางชนิดมีขนาดเล็กมาก 1 ตัวจะประกอบไปด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียวจึงเรียกว่า สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น อะมีบา ยูกลีนา พารามีเซียม ยีสต์

กิจกรรมการจัดเรียนการสอน
ขั้นนำ
     1. ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยการเล่าประวัติของรอเบิร์ต  ฮุก  อย่างสังเขปพร้อมอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับกล้องจุลทรรศน์ที่รอเบิร์ต  ฮุก  เป็นผู้ประดิษฐ์มาเพื่อศึกษาเกี่ยวกับเซลล์  จากนั้นครูตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียน
     1.1 เซลล์ที่รอเบิร์ต  ฮุก  ค้นพบมีลักษณะเป็นอย่างไร
(แนวตอบ  รอเบิร์ต  ฮุก  ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูไม้คอร์กที่เฉือนบางๆ ซึ่งพบช่องเล็ก ๆ
จำนวนมาก  เขาจึงเรียนช่องเหล่านี้ว่า  เซลล์ (cell) ซึ่งเซลล์ที่ รอเบิร์ต  ฮุก  พบนั้นเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว  แต่การที่คงเป็นช่องอยู่ได้ก็เป็นเพราะเซลล์นั้นมีผนังเซลล์)
ขั้นสำรวจค้นหา
          2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาเกี่ยวกับลักษณะและรูปร่างของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์  และการจัดระบบของเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะ จากหนังสือเรียน  หน้า 2 – 4  ร่วมกันวิเคราะห์
ความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์  แล้วสรุปและบันทึกลงในสมุด
ของนักเรียน
(เป็นการฝึกนักเรียนให้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น  การแบ่งหน้าที่กันเองตามศักยภาพของแต่ละบุคคลเป็น
ความพอประมาณกับความสามารถ  การเป็นผู้นำ ผู้ตาม  รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้ การช่วยเหลือกันระหว่างปฏิบัติกิจกรรม  เป็นการส่งเสริมให้เกิดคุณธรรม  มีความรับผิดชอบ  ความมุ่งมั่น  ความเมตตา  ความเอื้ออาทร
ต่อกัน  และเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้นักเรียนในมิติด้านสังคม)
ขั้นอธิบายความรู้
          3. สุ่มตัวแทนนักเรียนออกมารายงานเรื่องที่ศึกษาหน้าชั้นเรียน  นักเรียนกลุ่มอื่นๆร่วมกันอภิปราย
และแสดงความคิดเห็น  ครูอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
ขั้นขยายความเข้าใจ
          4. นักเรียนเขียนผังความคิด  เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์  เขียนแผนภาพ
การจัดระบบของเซลล์ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์  
(นักเรียนมีความรู้  รอบรู้  ความรอบคอบ  จากการสืบค้นข้อมูล  การร่วมอภิปราย  และการสรุปเป็นผังความคิด
เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์  และการเขียนแผนภาพการจัดระบบของเซลล์ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์  เป็นการฝึกให้นักเรียนมีสติที่จะต้องนำความรู้ความเข้าใจคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล  โดยคำนึงถึง
มิติด้านวัตถุและสิ่งแวดล้อม
          5. นักเรียนทำแบบฝึกหัดเพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและรูปร่างของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

สื่อการเรียนการสอน
หนังสือแบบเรียน สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช

การวัดและประเมินผล

ด้านความรู้ (K)
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์(A)
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
1. ทดสอบหลังเรียน
2. การตอบคำถามที่ครูตั้งขึ้น
3. ตรวจผลงานเป็นรายบุคคล
หรือเป็นกลุ่ม
ประเมินพฤติกรรมในการทำงาน
เป็นรายบุคคลในด้านมีวินัย
ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน

ประเมินพฤติกรรมในการทำงานเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มในด้าน
การคิด  การแก้ปัญหา


























บันทึกหลังการสอน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
                                                         
ลงชื่อ...................................................(ผู้สอน)
(นางณปภัช  สายคำพันธ์)
ตำแหน่ง  ครู  โรงเรียนไกรภักดีวิทยาคม




ข้อเสนอแนะ (หัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญด้านสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ลงชื่อ
                                            (นางศิริรัตน์  มากดี)
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนไกรภักดีวิทยาคม
วันที่ …………เดือน………………..………




ความเห็นผู้บังคับบัญชา
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ลงชื่อ
                                             (……………………………..……….)
ตำแหน่ง …………………………………
               วันที่ ….เดือน………………..………





















แนวทางการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

1.      ผู้สอนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

           หลักพอเพียง
ประเด็น
ความพอประมาณ
มีเหตุผล
มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

เนื้อหา
-กำหนดเนื้อหาเหมาะสม
กับความสนใจของผู้เรียน
วัยผู้เรียนและเวลา

-เนื้อหาที่กำหนดขึ้นสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัด
-กำหนดเนื้อหาให้ผู้เรียนได้ทราบล่วงหน้าอย่างชัดเจน
-ครูมีความรอบรู้และมีแหล่งข้อมูลให้สืบค้น
จนเข้าใจก่อนสอน
เวลา
-กำหนดเวลาให้เหมาะสมกับเนื้อหา  กิจกรรม
การเรียนรู้  การประเมินผล
วัยของผู้เรียน
-สามารถจัดกิจกรรม
การเรียนให้กับผู้เรียน
ได้บรรลุจุดประสงค์
-เวลาที่จัดไว้เหมาะสมกับความสนใจตามวัยของ
ผู้เรียน
-กำหนดเวลาไว้สำรองในกรณีที่บางกิจกรรมอาจจะใช้เวลามากกว่ากำหนด
วิธีจัดกิจกรรม
-จัดกิจกรรมให้ผู้เรียน
ได้ปฏิบัติด้วยตนเอง
เหมาะสมกับวัยและ
ความสนใจ
-กำหนดจำนวนกลุ่ม/ห้องเรียน ได้เหมาะสมกับการปฏิบัติกิจกรรม
-การจัดกิจกรรมที่ให้
ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ
จะทำให้เกิดการเรียนรู้
อย่างมีประสิทธิภาพ
-การจัดการเรียนรู้เป็นกลุ่ม
ทำให้เกิดมิติทางด้านสังคมอย่างชัดเจน
-วางแผนจัดลำดับให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเป็นระบบ
ความรู้ที่ครูจำเป็น
ต้องมี
-มีความรู้ในสาระที่สอน
-วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
-หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
คุณธรรมของครู
-มีความรักเมตตาศิษย์  มีความรับผิดชอบ  มีความยุติธรรม
-มีความอดทนและมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาผู้เรียน






2.      ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2.1   ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักคิด  และฝึกปฏิบัติ  ตาม 3 ห่วง 2 เงื่อน  ดังนี้

ความพอประมาณ
มีเหตุผล
มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
-กำหนดหน้าที่ของสมาชิก
ภายในกลุ่มได้เหมาะสมกับ
ความสามารถของสมาชิก
-กำหนดขอบข่ายการทำงานได้
เหมาะสมกับเวลาที่กำหนดและ
จำนวนสมาชิกในกลุ่ม
-มีการวิเคราะห์หาเหตุผลเพื่อ
แก้ปัญหาในขณะปฏิบัติกิจกรรม
อย่างมีสติ  รอบคอบ  ถูกต้อง
เหมาะสม
-วางแผนการปฏิบัติกิจกรรม
ที่ได้รับมอบหมายได้อย่างเหมาะสม  ชัดเจนและปฏิบัติได้
ความรู้ที่ต้องมีก่อนเรียน
-องค์ประกอบพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
-เซลล์
-กล้องจุลทรรศน์
คุณธรรม
-ใฝ่เรียนรู้
-อยู่อย่างพอเพียง
-มุ่งมั่นในการทำงาน